ถอดรหัส! ทำไมหลายองค์กรถึงเลือกใช้ “Cloud Computing”

 

ปัจจุบัน “คลาวด์” ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราแทบทุกมิติ เนื่องจากว่า Cloud Provider หลายๆ เจ้า ได้เริ่มเข้ามาทำธุรกิจนี้ในประเทศไทยกันมากขึ้น และถ้าเรามองในมุมมองของโลกเราก็จะยิ่งเห็นภาพที่จัดเจนมากขึ้นว่าองค์กรใหญ่ๆ กำลังเริ่มลงทุนสร้างแอปพลิเคชั่นต่างๆ บนคลาวด์ เนื่องจากคลาวด์มีข้อดีหลายข้อไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ยืดหยุ่น มีความปลอดภัย และการป้องกันความล้มเหลวของระบบมาพร้อมกัน

 

ทีนี้ถ้าหากเรามองในมุมของ Gartner ซึ่งแอดคิดว่าพวกเราคงรู้จักกันดี ได้มีการคาดคะเนไว้ว่าในปี 2025 องค์กรระดับโลกจะเริ่มหันมาใช้คลาวด์ในการสร้างแอปพลิเคชั่น หรือว่าการทำ Business Process ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถ้าเราดูจากสถิติของ Gartner ในปี 2025 จะมีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรพวกนี้จะย้ายมาใช้คลาวด์อย่างเต็มตัว

 

นอกจากนี้ทาง Gartner เองยังได้บอกอีกว่าด้วยเหตุของโรคระบาดโควิด 19 ทำให้โลกของการทำงานหรือการสื่อสารกับลูกค้านั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทาง Gartner จึงคิดว่าสิ่งนี้แหละคือตัวกระตุ้นขององค์กรหลายๆ องค์กร

 

ทีนี้เรามาดูว่า Cloud Model ตัวไหนเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลกของคลาวด์ ณ ปัจจุบัน กันครับ

  • Infrastructure as a Service (IaaS) – บริการที่ครอบคลุมเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที ได้แก่ ระบบเครือข่าย (Network), ระบบจัดเก็บข้อมูล (Database), ระบบประมวลผล (CPU) ไปจนถึงอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น Servers และระบบปฏิบัติการ (OS) ในรูปแบบระบบเสมือน (Virtualization)  โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware ที่มีราคาแพง

Highlight: ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง, สามารถขยายได้ง่ายตามการเติบโตของบริษัท และมีความยืดหยุ่นสูง, ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบเอง

Case Study : ตัวอย่างของคราวด์ประเภทนี้เช่น บริการ  Cloud storage ต่าง ๆ เช่น Dropbox , ICloud Drive ,Google Drive หรือ Microsoft OneDrive เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีบริการให้เช่ากำลังประมวลผล, บริการให้เช่า เซิร์ฟเวอร์เสมือน เพื่อใช้ลงและรันแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่เราต้องการเช่น  Open Landscape Cloud, Google Compute Engine, Amazon Web Services, Microsoft Azure เป็นต้น

 

  • Platform-as-a-Service (PaaS) – เหมาะสำหรับ Developer, Cloud Engineer และองค์กรที่ต้องการจะพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่างๆ โดยไม่คำนึงถึง Infrastructure เพราะบน Cloud Provider นั้นได้มีการสร้างและเตรียมพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว

Highlight: ไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอง ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานผ่าน Cloud จากที่ไหนก็ได้

Case Study: ตัวอย่างที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดเช่น Google Docs หรือ Google Apps ที่มาในรูปแบบการใช้ซอฟต์แวร์ผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่อง หรือWeb-based Email Service ต่างๆ เช่น Hotmail, Gmail, Facebook, Twitter ที่มีการเก็บโปรแกรมและข้อมูลต่างๆไว้ที่ Host แล้วให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Application ต่างๆ ผ่านทางเว็บได้ ก็ถือว่าเป็นบริการประเภทนี้อีกเช่นเดียวกันเป็นต้น

 

  • Software-as-a-Service (SaaS) – แอพลิเคชั่นสำเร็จรูปที่ใช้งานอยู่บน Cloud Provider ซึ่งผู้ใช้งานจะจ่ายเป็น Monthly หรือ Per License ได้นั่นเอง

Highlight: สามารถช่วยลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ได้

Case Study: ตัวอย่างบริการทางด้านนี้เช่น Google App Engine, Microsoft Azure ที่สามารถนำมาพัฒนาแอพที่ให้บริการคนจำนวนมหาศาลได้ โดยใช้เวลาพัฒนาไม่นานด้วยทีมงานแค่ไม่กี่คน

 

 

ซึ่งจากสถิติของ Gartner เราจะเห็นได้ว่าองค์กรใหญ่ๆ นั้นได้มีการลงทุนอย่างมหาศาลบน SaaS Application ไม่ว่าจะเป็น Salesforce หรือ Office365 เป็นต้น และถ้าหากเราคิดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นละก็จะอยู่ที่ประมาณ 11 เปอร์เซ็นเลยทีเดียว

 

อย่างไรก็ตาม Gartner ยังได้กล่าวไว้อีกว่าการเปลี่ยนแปลงจาก Legacy Application ไปยัง Cloud จะยังไม่ตอบโจทย์สำหรับหลายๆ องค์กรเนื่องจากบนระบบ Cloud นั้นมี Limitation อยู่อย่างหนึ่งที่ว่ายังไม่รองรับ Legacy Application หรือการเขียนโค๊ดด้วยภาษาที่เค้ากำลังจะไม่ได้ใช้กัน ยิ่งไปกว่านั้นทาง Gartner ยังแนะนำให้องค์กรนั้นหันมาใช้ Cloud Native ให้มากขึ้น เนื่องจากมันมี Benefits ต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การ Scale และความยืดหยุ่นต่อการเกิด Failure ของ Application นั้นๆ โดย Gartner ได้คาดคะเนไว้ว่าในปี 2025 นั้นองค์กรจะนำ Cloud Native มาใช้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมากกว่าปี 2021 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

 

สนใจทดลองใช้ PROEN Cloud ฟรี! 14 วัน ลงทะเบียนได้ที่
https://www.proen.cloud/th/get-free-trials/
Tel: 02690 3888
E-mail: [email protected]