Low-Code/No-Code?? ทำไมคุณควรให้ความสนใจ

ที่มาที่ไปการกำเนิด Low Code

หากพูดถึงการเริ่มต้นของ Low Code นั้น อาจต้องย้อนไปในปี 1980 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Fourth-Generation Language (4GL) หรือเป็นเหมือนภาษาที่สี่ก็ว่าได้ ด้วยเป้าหมายที่จะเขียนระบบหรือแอปพลิเคชั่น โดยใช้ Code ที่น้อยลง และระยะเวลาการสร้างระบบที่รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความต้องการให้บุคคลที่อาจไม่ได้มีความรู้หรือประสบการณ์ทางด้าน Programming สามารถสร้างระบบด้วยตนเองได้อีกด้วย

อย่างไรก็แล้วแต่คำว่า Low Code ที่เป็นการจำกัดความสำหรับพัฒนาระบบหรือแอปพลิเคชั่น มีอ้างถึงเป็นครั้งแรกโดย Foresster Research ในปี 2014 เนื่องจากการเกิดขึ้นของ Low Code Development Platforms ซึ่งกลายมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบและแอปพลิเคชั่น โดย Low Code Development Platforms นั้นมุ่งเน้นที่จะใช้ Code ให้น้อยลง และทำให้บุคคลทั่วไปที่อาจไม่มีความรู้ทางเทคนิค สามารถสร้างระบบใหม่ๆได้ด้วยตนเอง

ในปัจจุบัน Low Code ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยม และถูกเลือกใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปแล้ว Low Code Development Platforms ต่างๆ จะมีคุณลักษณะพื้นฐานดังต่อไปนี้

  • ระบบ Visual IDE ที่ให้ผู้พัฒนาระบบสามารถกำหนดการทำงาน, UI และจัดการข้อมูลของระบบได้ผ่านวิธีการลากเเละวาง
  • External Server Integrations สามารถรองรับการเชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลได้
  • Application Life Cycle Management สามารถจัดการบริหารระบบได้ จากเครื่องมือ Build, Debug, Deploy และ Maintain ระบบได้อัตโนมัติ

ความเเตกต่างของระบบ Code เดิม, Low Code, เเละ No Code         

  • การทำงานของ Low Codeคือการใช้งานของระบบผ่าน Visual Modelling ในการสร้างระบบโดยลดการเขียน Code ลง
  • การพัฒนาระบบแบบเดิม (Traditional Coding)คือการสร้างระบบโดยการเขียน Code โดยนักพัฒนาทั้งหมด
  • No Codeคือการสร้างระบบ โดยไม่ใช้ Code เลย 100%

ดังนั้นอาจพูดได้ว่า ทั้งสามประเภทการทำงานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป้าหมายหลักในการสร้างและพัฒนาระบบ แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

ภาพด้านล่างคือ ผลจากการ Survey เราจะเห็นได้ว่า Platform ที่ได้มีการนำ Low-code เข้ามาใช้นั้น ทำให้ Productivity ของเค้าเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าเลยทีเดียว

 

จากรูปด้านบนเราจะเห็นได้ว่า Low-code หรือว่า No-code นั้นเป็นสิ่งที่ยากและมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากว่าองค์กรแต่ละองค์กรมีความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าเราดูตลาดในรูปนี้เราจะเห็นได้ว่า Salesforce และ Microsoft คือหนึ่งตัวอย่างที่ Offer Low-code หรือ No-code ให้กับองค์กรใหญ่ๆ ซึ่ง Platform เหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีข้อดีดังนี้

  • สามารถพัฒนาระบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ซึ่งถือเป็นข้อดีสำหรับทั้งนักพัฒนาระบบและลูกค้า เนื่องจากการพัฒนาระบบได้เร็วจะทำให้การทำงานน้อยลง และลูกค้ายังได้รับระบบที่มีคุณภาพไปใช้ในเวลาอันสั้น

  • ทำให้นักพัฒนาระบบสามารถทำงานได้เร็วขึ้น

หากมองการทำงานแล้วถึงแม้ว่าการใช้งาน Low Code อาจเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของนักพัฒนา แต่ในทางกลับกันการใช้งาน Low Code อาจจะมาทดเเทนการทำงานของนักพัฒนาระบบได้ เนื่องจากผู้คนอาจหันมาให้ความสำคัญหรือเลือกใช้การทำงาน Low Code มากขึ้น เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้พัฒนาระบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมากที่นักพัฒนาระบบทุกคนให้ความสำคัญต่อการปรับตัวและเรียนรู้ที่จะใช้ Low Code เพื่อลดงานในส่วนที่อาจไม่จำเป็นต้องใช้ Code

  • การปรับตัวสำหรับธุรกิจ (Digital Transformation)

ปฏิเสธไม่ได้เลยในปัจจุบัน เป็นยุคที่ธุรกิจทั้งหลายต้องเริ่มปรับตัวสู่ Digital Transformation นอกจากระบบที่ดีแล้ว ความเร็วในการปรับตัวก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะในขณะที่คุณกำลังรอการปรับตัวจากการทำระบบแบบเดิม ทั้งคู่แข่ง และหน่วยงานธุรกิจอื่นๆ อาจจะเดินนำหน้าคุณไปแล้วหลายก้าว ดังนั้นการปรับใช้ Low Code ให้เหมาะสมกับระบบที่ต้องการ จะช่วยให้การปรับตัวเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

  • ความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

หากเทียบกับการพัฒนาระบบแบบเดิมแล้ว การใช้งาน Low Code จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า เนื่องจากมีการจัดการที่ค่อนข้างง่ายหากเทียบกับการแก้ไขผลงานที่ถูกสร้างผ่านการ Hand Coding นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้กับระบบการทำงานแบบเดิมให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยสรุปเมื่อการใช้งาน Low Code นั้นรับต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี จึงอาจช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าทั้งต่อระบบและองค์กร

  • การใช้งานแบบอัตโนมัติ (Automation)

ด้วยการทำงานของ Low Code ที่ช่วยให้การพัฒนาระบบเป็นไปได้เร็วยิ่งขึ้น ช่วยให้กระบวนการทำงานดำเนินไปได้เเบบอัตโนมัติมากขึ้น

  • การมอบประสบการณ์ที่หลากหลาย (Multi Experience)

การใช้งาน Low Code ทำให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้สะดวกขึ้นทั้งการทำ built in Template, automated refactoring, chatbot ฯลฯ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้การทำงานของ Low Code ยังรองรับโซลูชั่นการทำงานที่หลากหลาย ทั้งการจัดการกระบวนการงานแบบอัตโนมัติ (Process Automation) ไปจนสู่ระบบที่มีความซับซ้อน

  • ลดช่องว่างระหว่างคนที่รู้เเละไม่รู้ด้านโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้

เนื่องจาก Low Code เป็นการทำงานผ่านเเพลตฟอร์ม ที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้งานได้ แม้จะไม่มีทักษะเกี่ยวกับ Programming ดังนั้นอาจช่วยให้คนจากหลากหลายประเภทการทำงานมาทำงานร่วมกัน ช่วยนำเสนอโซลูชั่น และความคิดสร้างสรรค์ ที่จะช่วยพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น

  • ทำให้ผู้ใช้งานหลายๆคนสามารถทำงานพรัอมกันได้ (Multi User Development)

นักพัฒนาสามารถทำการสร้างระบบได้ในเวลาเดียวกัน และยังช่วยสร้างเสริมการทำงานเป็นทีมได้อีกอีกด้วย

 

นอกจากนี้ อ้างอิงจาก Gartner มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2024 การพัฒนาระบบหรือแอปพลิเคชั่น โดยใช้ Low Code Development Platforms จะมีความเป็นไปได้สูงถึง 65% และยังมี Application ต่างๆ อีกมากมายที่ใช้ Low-code หรือ No-code ซึ่งเราจะมาดูกันครับว่ามีตัวอะไรบ้าง

 

Web Site low-code/ no-code platforms

ประกอบไปด้วย WordPress, Wix, WebFlow และ Squarespace

DataBase Management low-code/no-code platforms

ประกอบไปด้วย Mendix, Airtable และถ้าหากเป็น NoSQL จะเป็น Application พวก KgBase

Automated integration low-code/no-code platforms

ประกอบไปด้วย Zapier, Parabora และ Integromat

Mobile application development

ประกอบไปด้วย Bubble และThunkable

ซึ่งทุกคนจะเห็นถึงข้อดีต่างๆ ของ No-code แล้ว ข้อเสียละ มันมีบ้างไหม แอดคิดว่าทุกอย่างบนโลกใบนี้ไม่มีทางที่จะไม่มีข้อเสีย แอดจะยกตัวอย่างมาซัก 3 ข้อมาให้พวกเราเห็นถึงจุดด้อยของมันกัน

  1. It involves a culture change: นั่นก็หมายความว่าองค์กรจะต้องปฏิรูปใหม่หมด จากเดิมที่ทำงานกันเป็น Silo ก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นการทำงานร่วมกัน ซึ่งการที่จะเปลี่ยนแปลงได้นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้งบจำนวนมาก อีกทั้งเราจะต้องศึกษาถึงการทำ Low-code หรือ No-code อีกด้วย
  2. It takes time and effort to learn the platforms: องค์กรหรือทีมต่างๆ จะต้องเรียนรู้ถึงการใช้งานของ Platform นั้นๆ ซึ่งแต่ละ Platform มีการเขียน Code ที่แตกต่างกันออกไป โดยอาจจะมียากและง่าย ขึ้นอยู่กับ Platform นั้นๆ
  3. Resources and community support are scarce: เนื่องด้วย Low-code นั้นยังเป็นกรรมวิธีที่ค่อนข้างใหม่ ทำให้ Resource หรือว่า Community ยังหาได้ค่อนข้างยาก

 

สนใจทดลองใช้ PROEN Cloud ฟรี! 30 วัน ลงทะเบียนได้ที่
https://www.proen.cloud/th/get-free-trials/
Tel: 02690 3888
E-mail: [email protected]